Thai Text Generator

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 16 


วันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ช่วงการสอบปลายภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รูปภาพ : ปฏิทินการศึกษา 2557



บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 15 ( Off Course )



วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของวิชานี้  อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และอาจารย์ได้เปิด VDO เรื่อง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ให้นักศึกษาดูด้วย ดังเนื้อหาด้านล่าง

องค์ความรู้ในวันนี้


รูปภาพ : เด็กที่มีความบกร่องทางการเรียนรู้


          อาจารย์ได้เปิด VDO เรื่อง ศูนย์การศึกษาพิเศษ ของม.ราชภัฏพิบูลสงครามให้นักศึกษาดู

รูปภาพ : ศูนย์การศึกษาพิเศษ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม



สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
          วันนี้ถึงแม้จะเป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายแต่เนื้อหาที่ได้เรียนมาตลอดทั้งภาคเรียน ข้าพเจ้าก็ยังจะจำมันเป็นตลอด เนื่องจากเป็นสิ่งที่ครูปฐมวัยขาดไม่ได้เลยทีเดียวถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้เจอกับเด็กพิเศษทุกประเภท แต่เราก็ควรจะนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การรู้จักอาการของเด็กประเภทนั้นบ้างบางส่วน


สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
         ประเภทของ LD
              LD ด้านการเขียนและสะกดคำ
              LD ด้านการอ่าน
              LD ด้านการคำนวณ
              LD หลายๆ ด้านร่วมกัน

         ลักษณะของเด็ก LD การเขียน
             - เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
             - เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
             - จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก

         ลักษณะของเด็ก LD การอ่าน
             - อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
             - อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
             - ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้

         ลักษณะของเด็ก LD การคำนวณ
             - นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
             - คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
             - ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น

ข้อมูลจาก : Learning Disorders – LD 
      

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

 
 
 
 
วันพฤหัสบดี ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
 
 
          วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดราชการ
นั่นคือ พารุ่นพี่ปี 4 ปฐมวัย ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 

 
สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
 
ดนตรีบำบัดในเด็กพิเศษ
Music Therapy in Special Children
 

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา  จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 
  
 

         

          ดนตรีบำบัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเด็กพิเศษได้ง่าย เนื่องจากมีลูกเล่นในการใช้ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ต้องการในการบำบัด และเด็กกลุ่มเป้าหมายที่นำมาบำบัด

          เด็กบางคนยังพูดไม่ได้ แต่สามารถฮัมเพลง หรือร้องเพลงได้ตามที่เคยได้ยินมา จึงมีการนำดนตรีบำบัดมาช่วยเสริมในการกระตุ้นการพูดและการสื่อสารได้ และยังสามารถสอนให้เด็กเรียนรู้คำนาม กริยา หรือวลี ผ่านบทเพลงสั้นๆ ทำท่าทาง หรือมีอุปกรณ์ประกอบได้อีกด้วย เช่น

“นี่คือตุ๊กตา นี่คือ ตุ๊กตา

ตุ๊กตากำลังกระโดด ตุ๊กตากำลัง กระโดด

นี่คือตุ๊กตา นี่คือ ตุ๊กตา”

          ร้องเพลงตามเนื้อเพลงข้างต้น โดยใส่จังหวะและทำนองที่คุ้นเคยลงไป พร้อมมีตุ๊กตาทำท่าประกอบ จากนั้นค่อยๆ ลดคำที่เป็นตัวหนาลง เว้นไว้ให้เด็กออกเสียงร้องแทน เมื่อร้องได้แล้วอาจจะเปลี่ยนเป็นกริยาอื่น เช่น นอน นั่ง เดิน เป็นต้น และเปลี่ยนจากตุ๊กตาเป็นของสิ่งอื่นต่อไป

          การร้องเพลงโดยใช้วลีซ้ำๆ จะช่วยให้เด็กสามารถจดจำและเลียนแบบได้ง่ายขึ้น เมื่อเราค่อยๆ ลดคำลงทีละคำ เด็กก็สามารถร้องต่อไปได้จากสิ่งที่จดจำ จนร้องได้เองทั้งเพลง และยังช่วยให้เด็กสามารถตอบคำถามได้เต็มประโยคมากขึ้น เวลาเราตั้งคำถาม เช่น ถามคำถามว่า “นี่คืออะไร” “ตุ๊กตากำลังทำอะไร”

          เด็กออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องการพูดออกเสียงแบบโมโนโทน (monotonic speech) สามารถนำดนตรีบำบัดมาใช้เพื่อฝึกการพูดให้มีจังหวะ และระดับเสียงถูกต้องตามจังหวะของดนตรีได้เช่นกัน

         ในเด็กออทิสติก พบว่ามีความสามารถพิเศษทางดนตรีได้บ่อยกว่าความสามารถด้านอื่นๆ มีการตอบสนองต่อเสียงดนตรีที่พิเศษจากทั่วไป และบางคนสามารถเรียนรู้และเล่นดนตรีได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง ทำให้เด็กออทิสติกตอบสนองต่อดนตรีบำบัดได้ค่อนข้างดี

          ดนตรีบำบัด ยังสามารถนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะสังคม โดยกระตุ้นให้เด็กมีการตอบสนองอย่างมีเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ผ่านกิจกรรมดนตรีรูปแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้ดนตรี การส่งบอลรอบวงตามจังหวะดนตรี เป็นต้น

 
 


วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 13



วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2557


กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์สอนบรรยายตาม Power Point เรื่อง "กรดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" มีเนื้อหาต่อไปนี้


องค์ความรู้ในวันนี้
         
         
รูปภาพ : เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน

          การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีต้องการพิเศษ ไม่ใช่แค่เด็กต้องการยาหรือศูนย์บำบัดเท่านั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีต้องการพิเศษที่สุดคือ ครอบครัวของเด็กนั้นเอง ครอบครัวต้องรัก ไม่รังเกียจ ไม่ทะเลาะกันเพราะความต้องการพิเศษของเด็ก ไม่ทำให้เด็กเป็นปมด้อย พูดคุยกับเด็กทุกครั้งที่เขาต้องการอยากคุยหรืออยากบอกอะไรเราสักอย่างไม่ใช่ปล่อยปะละเลย ถ้าเด็กได้รับยาหรือการบำบัดและความรักที่ครอบครัว/คนรอบข้างมอบให้ รับรองว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีในเร็ววัน

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม     

          การช่วยเหลือเด็กดาวน์ซินโดรม
             การกระตุ้นการพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อายุ 1-2 เดือนหลังคลอด เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถยืนได้ เดินได้ ช่วยตนเองได้มากที่สุด และเป็นภาระน้อยที่สุดจากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าการกระตุ้นพัฒนาการ จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพ ได้อย่างชัดเจนและจะได้ผลดีที่สุด หากทำในระยะ 2 เดือน ถึง 2 ปีแรกของชีวิต นอกจากนั้นก็ควรมีการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอ โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน



วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 12




วันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2557


กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนองานเด็กพิเศษ ต่อจากบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 10 หลังจากที่เพื่อนนำเสนองานเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบกลางภาคต่อไป


องค์ความรู้ในวันนี้
         เพื่อนนำเสนองาน เรื่อง เด็กออทิสติก มีเนื้อหาดังนี้

รูปภาพ : เนื้อหาเด็กออทิสติก


สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
         จากสิ่งที่ได้เรียนเรื่อง ออทิสติก ในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกและสามารถสังเกตอาการของเด็กออทิสติกในชั้นเรียนที่เรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การที่เรารู้พฤติกรรมของเด็กออทิสติกมาเท่าไรยิ่งง่ายต่อการเขียนแผน การจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมได้ง่ายขึ้น


สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม     
          

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism


ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง

คัดลอกจาก : เด็กออทิสติก
          

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 11




วันพฤหัสบดี ที่ 16 มกราคม พ.ศ.2557

          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาผ่านทาง Facebook งานคือ การสรุปวิจัยที่ตัวเองตัวเลือกไว้ตั้งแต่ต้นเทอมและซ้ำกันได้แค่ 2 คนต่อเรื่องพร้อมส่งในสัปดาห์ถัดไป ซึ่งงานวิจัยของข้าพเจ้าคือ เรื่อง การลดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งในชั้นเรียนของเด็กออทิสติกโดยใช้การชี้แนะด้วยภาพสัญลักษณ์กับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร : กฤษฎา  ม่วงศรีพิทักษ์ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

รูปภาพ : การสรุปงานวิจัยของข้าพเจ้าพร้อมส่ง

รูปภาพ : เนื้อหาบางส่วนจากงานวิจัย


วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 10




วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2557

กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในหัวข้อที่ตัวเองได้รับผิดชอบและมีการประเมินเพื่อนๆ ที่นำเสนองาน ดังแบบฟอร์มรูปภาพด้านล่างนี้


รูปภาพ : แบบฟอร์มการประเมินเพื่อน

          ซึ่งมีกลุ่มรายงานวันนี้ ดังต่อไปนี้ 1) เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)  2) เด็กสมองพิการ (CP) (กลุ่มของข้าพเจ้า)  3) เด็กสมาธิสั้น  4) Down's syndrome  และอาจารย์ก็สอนเพิ่มเติม เรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อจากสัปดาห์ที่ 6) สุดท้ายอาจารย์ได้ทดสอบ Gesell Drawing Test กับนักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือและการประสานงานของตากับมือ ข้าพเจ้าได้เก็บภาพจากการทดสอบมาฝากด้วยคะ


รูปภาพ : ทดสอบ Gesell Drawing Test กับตัวเอง

องค์ความรู้ในวันนี้
        จากเรื่องที่เพื่อนในห้องเรียนนำเสนอ มีดังนี้

รูปภาพ : กลุ่มนำเสนองาน เด็ก LD

             เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)
             เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
              
รูปภาพ : สมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้าขณะนำเสนองาน
          เด็กสมองพิการ (CP)
          เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) เป็นเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรทางสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลาม ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่องทำให้เคลื่อไหวและการทรงตัวที่ผิดปกติ


        เนื้อหาเรื่อง พัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

รูปภาพ : พัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
          วันนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากมายหลายอย่างทั้งจากการทำงานกลุ่มและที่อาจารย์ได้สอน นั่นคือการทำงานกลุ่มเรื่องของความสามัคคี การเห็นอกเห็นใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน การช่วยงานกันไม่ว่างานนั้นตัวเองจะถนัดหรือไม่ก็ช่วยเหลือกันเท่าที่ทำได้และได้รับความรู้จากที่เพื่อนนำเสนออีกด้วย

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม          
สาเหตุของเด็กสมองพิการ
1. โรคสมองพิการเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
2. ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน รายงานการศึกษาพบว่าสาเหตุจากระยะในครรภ์มารดา และระยะการคลอด พบมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
3. สาเหตุที่เกิดระหว่างคลอดพบได้ร้อยละ 3–13 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เกิดหลังคลอดพบได้ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
4. กลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด แต่ก็ควรค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม ก่อนจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการ
5. เมื่อทำการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า พบความผิดปกติของสมองได้ 4 แบบ ชนิดแรกเป็นความผิดปกติที่เนื้อขาวของสมอง เรียกว่า periventricular leukomalacia (PVL) ชนิดที่สองพบพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง ชนิดที่สามพบเลือดออกในสมอง และชนิดสุดท้ายพบภาวะสมองขาดเลือดที่รุนแรง
6. การศึกษาในยุคจีโนมิกส์ พบยีนหลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสมองพิการ เช่น ยีนที่ควบคุมการสร้างสารกลูตาเมตที่มากเกินไป ยีนที่ควบคุมการสร้างสาร neurotropins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันอันตรายให้กับเซลล์ประสาท เป็นต้น

คัดลอกจาก : โรคสมองพิการ