Thai Text Generator

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 13



วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2557


กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์สอนบรรยายตาม Power Point เรื่อง "กรดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" มีเนื้อหาต่อไปนี้


องค์ความรู้ในวันนี้
         
         
รูปภาพ : เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน

          การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีต้องการพิเศษ ไม่ใช่แค่เด็กต้องการยาหรือศูนย์บำบัดเท่านั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีต้องการพิเศษที่สุดคือ ครอบครัวของเด็กนั้นเอง ครอบครัวต้องรัก ไม่รังเกียจ ไม่ทะเลาะกันเพราะความต้องการพิเศษของเด็ก ไม่ทำให้เด็กเป็นปมด้อย พูดคุยกับเด็กทุกครั้งที่เขาต้องการอยากคุยหรืออยากบอกอะไรเราสักอย่างไม่ใช่ปล่อยปะละเลย ถ้าเด็กได้รับยาหรือการบำบัดและความรักที่ครอบครัว/คนรอบข้างมอบให้ รับรองว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีในเร็ววัน

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม     

          การช่วยเหลือเด็กดาวน์ซินโดรม
             การกระตุ้นการพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อายุ 1-2 เดือนหลังคลอด เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถยืนได้ เดินได้ ช่วยตนเองได้มากที่สุด และเป็นภาระน้อยที่สุดจากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าการกระตุ้นพัฒนาการ จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพ ได้อย่างชัดเจนและจะได้ผลดีที่สุด หากทำในระยะ 2 เดือน ถึง 2 ปีแรกของชีวิต นอกจากนั้นก็ควรมีการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอ โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน



วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 12




วันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2557


กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนองานเด็กพิเศษ ต่อจากบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 10 หลังจากที่เพื่อนนำเสนองานเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบกลางภาคต่อไป


องค์ความรู้ในวันนี้
         เพื่อนนำเสนองาน เรื่อง เด็กออทิสติก มีเนื้อหาดังนี้

รูปภาพ : เนื้อหาเด็กออทิสติก


สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
         จากสิ่งที่ได้เรียนเรื่อง ออทิสติก ในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกและสามารถสังเกตอาการของเด็กออทิสติกในชั้นเรียนที่เรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การที่เรารู้พฤติกรรมของเด็กออทิสติกมาเท่าไรยิ่งง่ายต่อการเขียนแผน การจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมได้ง่ายขึ้น


สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม     
          

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism


ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง

คัดลอกจาก : เด็กออทิสติก
          

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 11




วันพฤหัสบดี ที่ 16 มกราคม พ.ศ.2557

          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาผ่านทาง Facebook งานคือ การสรุปวิจัยที่ตัวเองตัวเลือกไว้ตั้งแต่ต้นเทอมและซ้ำกันได้แค่ 2 คนต่อเรื่องพร้อมส่งในสัปดาห์ถัดไป ซึ่งงานวิจัยของข้าพเจ้าคือ เรื่อง การลดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งในชั้นเรียนของเด็กออทิสติกโดยใช้การชี้แนะด้วยภาพสัญลักษณ์กับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร : กฤษฎา  ม่วงศรีพิทักษ์ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

รูปภาพ : การสรุปงานวิจัยของข้าพเจ้าพร้อมส่ง

รูปภาพ : เนื้อหาบางส่วนจากงานวิจัย


วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 10




วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2557

กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในหัวข้อที่ตัวเองได้รับผิดชอบและมีการประเมินเพื่อนๆ ที่นำเสนองาน ดังแบบฟอร์มรูปภาพด้านล่างนี้


รูปภาพ : แบบฟอร์มการประเมินเพื่อน

          ซึ่งมีกลุ่มรายงานวันนี้ ดังต่อไปนี้ 1) เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)  2) เด็กสมองพิการ (CP) (กลุ่มของข้าพเจ้า)  3) เด็กสมาธิสั้น  4) Down's syndrome  และอาจารย์ก็สอนเพิ่มเติม เรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อจากสัปดาห์ที่ 6) สุดท้ายอาจารย์ได้ทดสอบ Gesell Drawing Test กับนักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือและการประสานงานของตากับมือ ข้าพเจ้าได้เก็บภาพจากการทดสอบมาฝากด้วยคะ


รูปภาพ : ทดสอบ Gesell Drawing Test กับตัวเอง

องค์ความรู้ในวันนี้
        จากเรื่องที่เพื่อนในห้องเรียนนำเสนอ มีดังนี้

รูปภาพ : กลุ่มนำเสนองาน เด็ก LD

             เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)
             เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
              
รูปภาพ : สมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้าขณะนำเสนองาน
          เด็กสมองพิการ (CP)
          เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) เป็นเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรทางสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลาม ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่องทำให้เคลื่อไหวและการทรงตัวที่ผิดปกติ


        เนื้อหาเรื่อง พัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

รูปภาพ : พัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
          วันนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากมายหลายอย่างทั้งจากการทำงานกลุ่มและที่อาจารย์ได้สอน นั่นคือการทำงานกลุ่มเรื่องของความสามัคคี การเห็นอกเห็นใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน การช่วยงานกันไม่ว่างานนั้นตัวเองจะถนัดหรือไม่ก็ช่วยเหลือกันเท่าที่ทำได้และได้รับความรู้จากที่เพื่อนนำเสนออีกด้วย

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม          
สาเหตุของเด็กสมองพิการ
1. โรคสมองพิการเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
2. ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน รายงานการศึกษาพบว่าสาเหตุจากระยะในครรภ์มารดา และระยะการคลอด พบมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
3. สาเหตุที่เกิดระหว่างคลอดพบได้ร้อยละ 3–13 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เกิดหลังคลอดพบได้ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
4. กลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด แต่ก็ควรค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม ก่อนจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการ
5. เมื่อทำการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า พบความผิดปกติของสมองได้ 4 แบบ ชนิดแรกเป็นความผิดปกติที่เนื้อขาวของสมอง เรียกว่า periventricular leukomalacia (PVL) ชนิดที่สองพบพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง ชนิดที่สามพบเลือดออกในสมอง และชนิดสุดท้ายพบภาวะสมองขาดเลือดที่รุนแรง
6. การศึกษาในยุคจีโนมิกส์ พบยีนหลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสมองพิการ เช่น ยีนที่ควบคุมการสร้างสารกลูตาเมตที่มากเกินไป ยีนที่ควบคุมการสร้างสาร neurotropins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันอันตรายให้กับเซลล์ประสาท เป็นต้น

คัดลอกจาก : โรคสมองพิการ

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 9



วันพฤหัสบดี ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2557


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่




บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 8



วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2556



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
ประจำปี 2556 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รูปภาพ : กำหนดการการแข่งขัน

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 7



วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รูปภาพ : ปฏิทินประจำภาคเรียน

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 6



วันพฤหัสบดี ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2556


กิจกรรมในห้องเรียน

          วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง "พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"

องค์ความรู้ในวันนี้
          

รูปภาพ : สรุปเนื้อหาเรื่อง "พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน

         พัฒนาการของเด็กไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษยอมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของมารดาทั้งระยะที่ตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังคลอดและหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ไม่มีเด็กคนไหนที่จะได้รับพัฒนาการได้อย่างเต็มที่ทุกด้านแน่นอนเพราะเด็กต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของเด็กและเด็กทุกคนยอมพัฒนาการที่แตกต่างกันไป ครูปฐมวัยต้องประเมินเด็กให้ตรงตามความเป็นจริงไม่ลำเอียงและต้องประเมินอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูพัฒนาการของเด็กที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับการบำบัด การสอน การฝึกหัดต่างๆ เป็นต้น

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม

         เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการคือ 
               1. ความบกพร่อง (Impairment) หมายถึงมีการสูญเสียหรือมีความผิดปกติของจิตใจและสรีระหรือโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย  
               2. ไร้สมรรถภาพ (Disability) หมายถึงการมีข้อจำกัดใด ๆ หรือการขาดความสามารถ
อันเป็นผล มาจากความบกพร่อง จนไม่สามารถกระทำกิจกรรมในลักษณะหรือภายในขอบเขตที่ถือว่าปกติสำหรับมนุษย์ได้ 
               3. ความเสียเปรียบ (Handicap) หมายถึงการมีความจำกัดหรืออุปสรรคกีดกั้นอันเนื่องมาจากความบกพร่อง และการไร้สมรรถภาพที่จำกัดหรือขัดขวางจนทำให้บุคคลไม่สามารถบรรลุการกระทำตามบทบาทปกติของเขาได้สำเร็จ 




บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 5



วันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2556


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุด"วันพ่อแห่งชาติ"