Thai Text Generator

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 10




วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2557

กิจกรรมในห้องเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียนในหัวข้อที่ตัวเองได้รับผิดชอบและมีการประเมินเพื่อนๆ ที่นำเสนองาน ดังแบบฟอร์มรูปภาพด้านล่างนี้


รูปภาพ : แบบฟอร์มการประเมินเพื่อน

          ซึ่งมีกลุ่มรายงานวันนี้ ดังต่อไปนี้ 1) เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)  2) เด็กสมองพิการ (CP) (กลุ่มของข้าพเจ้า)  3) เด็กสมาธิสั้น  4) Down's syndrome  และอาจารย์ก็สอนเพิ่มเติม เรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อจากสัปดาห์ที่ 6) สุดท้ายอาจารย์ได้ทดสอบ Gesell Drawing Test กับนักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือและการประสานงานของตากับมือ ข้าพเจ้าได้เก็บภาพจากการทดสอบมาฝากด้วยคะ


รูปภาพ : ทดสอบ Gesell Drawing Test กับตัวเอง

องค์ความรู้ในวันนี้
        จากเรื่องที่เพื่อนในห้องเรียนนำเสนอ มีดังนี้

รูปภาพ : กลุ่มนำเสนองาน เด็ก LD

             เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)
             เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
              
รูปภาพ : สมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้าขณะนำเสนองาน
          เด็กสมองพิการ (CP)
          เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) เป็นเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรทางสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลาม ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่องทำให้เคลื่อไหวและการทรงตัวที่ผิดปกติ


        เนื้อหาเรื่อง พัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

รูปภาพ : พัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)

สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากการเรียน
          วันนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากมายหลายอย่างทั้งจากการทำงานกลุ่มและที่อาจารย์ได้สอน นั่นคือการทำงานกลุ่มเรื่องของความสามัคคี การเห็นอกเห็นใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน การช่วยงานกันไม่ว่างานนั้นตัวเองจะถนัดหรือไม่ก็ช่วยเหลือกันเท่าที่ทำได้และได้รับความรู้จากที่เพื่อนนำเสนออีกด้วย

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม          
สาเหตุของเด็กสมองพิการ
1. โรคสมองพิการเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
2. ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน รายงานการศึกษาพบว่าสาเหตุจากระยะในครรภ์มารดา และระยะการคลอด พบมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
3. สาเหตุที่เกิดระหว่างคลอดพบได้ร้อยละ 3–13 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เกิดหลังคลอดพบได้ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
4. กลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด แต่ก็ควรค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม ก่อนจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการ
5. เมื่อทำการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า พบความผิดปกติของสมองได้ 4 แบบ ชนิดแรกเป็นความผิดปกติที่เนื้อขาวของสมอง เรียกว่า periventricular leukomalacia (PVL) ชนิดที่สองพบพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง ชนิดที่สามพบเลือดออกในสมอง และชนิดสุดท้ายพบภาวะสมองขาดเลือดที่รุนแรง
6. การศึกษาในยุคจีโนมิกส์ พบยีนหลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสมองพิการ เช่น ยีนที่ควบคุมการสร้างสารกลูตาเมตที่มากเกินไป ยีนที่ควบคุมการสร้างสาร neurotropins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันอันตรายให้กับเซลล์ประสาท เป็นต้น

คัดลอกจาก : โรคสมองพิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น