Thai Text Generator

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

 
 
 
 
วันพฤหัสบดี ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
 
 
          วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดราชการ
นั่นคือ พารุ่นพี่ปี 4 ปฐมวัย ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 

 
สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
 
ดนตรีบำบัดในเด็กพิเศษ
Music Therapy in Special Children
 

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา  จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 
  
 

         

          ดนตรีบำบัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเด็กพิเศษได้ง่าย เนื่องจากมีลูกเล่นในการใช้ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ต้องการในการบำบัด และเด็กกลุ่มเป้าหมายที่นำมาบำบัด

          เด็กบางคนยังพูดไม่ได้ แต่สามารถฮัมเพลง หรือร้องเพลงได้ตามที่เคยได้ยินมา จึงมีการนำดนตรีบำบัดมาช่วยเสริมในการกระตุ้นการพูดและการสื่อสารได้ และยังสามารถสอนให้เด็กเรียนรู้คำนาม กริยา หรือวลี ผ่านบทเพลงสั้นๆ ทำท่าทาง หรือมีอุปกรณ์ประกอบได้อีกด้วย เช่น

“นี่คือตุ๊กตา นี่คือ ตุ๊กตา

ตุ๊กตากำลังกระโดด ตุ๊กตากำลัง กระโดด

นี่คือตุ๊กตา นี่คือ ตุ๊กตา”

          ร้องเพลงตามเนื้อเพลงข้างต้น โดยใส่จังหวะและทำนองที่คุ้นเคยลงไป พร้อมมีตุ๊กตาทำท่าประกอบ จากนั้นค่อยๆ ลดคำที่เป็นตัวหนาลง เว้นไว้ให้เด็กออกเสียงร้องแทน เมื่อร้องได้แล้วอาจจะเปลี่ยนเป็นกริยาอื่น เช่น นอน นั่ง เดิน เป็นต้น และเปลี่ยนจากตุ๊กตาเป็นของสิ่งอื่นต่อไป

          การร้องเพลงโดยใช้วลีซ้ำๆ จะช่วยให้เด็กสามารถจดจำและเลียนแบบได้ง่ายขึ้น เมื่อเราค่อยๆ ลดคำลงทีละคำ เด็กก็สามารถร้องต่อไปได้จากสิ่งที่จดจำ จนร้องได้เองทั้งเพลง และยังช่วยให้เด็กสามารถตอบคำถามได้เต็มประโยคมากขึ้น เวลาเราตั้งคำถาม เช่น ถามคำถามว่า “นี่คืออะไร” “ตุ๊กตากำลังทำอะไร”

          เด็กออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องการพูดออกเสียงแบบโมโนโทน (monotonic speech) สามารถนำดนตรีบำบัดมาใช้เพื่อฝึกการพูดให้มีจังหวะ และระดับเสียงถูกต้องตามจังหวะของดนตรีได้เช่นกัน

         ในเด็กออทิสติก พบว่ามีความสามารถพิเศษทางดนตรีได้บ่อยกว่าความสามารถด้านอื่นๆ มีการตอบสนองต่อเสียงดนตรีที่พิเศษจากทั่วไป และบางคนสามารถเรียนรู้และเล่นดนตรีได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง ทำให้เด็กออทิสติกตอบสนองต่อดนตรีบำบัดได้ค่อนข้างดี

          ดนตรีบำบัด ยังสามารถนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะสังคม โดยกระตุ้นให้เด็กมีการตอบสนองอย่างมีเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ผ่านกิจกรรมดนตรีรูปแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้ดนตรี การส่งบอลรอบวงตามจังหวะดนตรี เป็นต้น

 
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น